เมนู

10. นันทิขยสูตรที่ 2



ว่าด้วยการสิ้นความยินดีเป็นเหตุหลุดพ้นจากทุกข์



[104] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุ
ทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งรูป ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เพราะสิ้นความยินดี
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะ
สิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทำไว้ในใจซึ่งเวทนาโดยอุบายอัน
แยบคาย ฯลฯ ซึ่งสัญญาโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งสังขารโดยอุบาย
อันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุทำไว้ในใจซึ่ง
วิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่ง
วิญญาณตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ เพราะสิ้น
ความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี
เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว.
จบ นันทิขยสูตรที่ 2
จบ อัตตทีปวรรคที่ 5

อรรถกถานันทิขยสูตรที่ 1 - 2



ในสูตรที่ 1- 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย, ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย เพราะ
ความเพลิดเพลินสิ้นไป ราคะก็สิ้นไป. เพราะราคะสิ้นไป ความเพลิดเพลิน
ก็สิ้นไปนี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อกระทำให้ต่างจากอรรถแห่งคำเหล่านี้ว่า
นนฺทิ หรือว่า ราโค. อนึ่ง บุคคลเมื่อเบื่อหน่ายด้วยนิพพิทานุปัสสนา
ชื่อว่า ย่อมละนันทิ ความเพลิดเพลิน เมื่อคลายความกำหนัดด้วย
วิราคานุปัสสนา ชื่อว่าย่อมละราคะ.
ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้วิปัสสนา
จบลงแล้ว ทรงแสดงมรรคจิตในที่นี้ว่า เพราะราคะสิ้นไป นันทิก็สิ้นไป
ดังนี้แล้วแสดงผลจิตว่า เพราะนันทิ-ราคะสิ้น จิตหลุดพ้นแล้วแล.
จบ อรรถกถานันทิขยสูตรที่ 1 2
จบ อัตตทีปวรรค
จบ อรรถกถามูลปัณณาสก์


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อัตตทีปสูตร 2. ปฏิปทาสูตร 3. อนิจจสูตรที่ 1 4. อนิจจ-
สูตรที่ 2 5. สมนุปัสสนาสูตร 6. ปัญจขันธสูตร 7. โสณสูตรที่ 1
8. โสณสูตรที่ 2 9. นันทิขยสูตรที่ 1 10. นันทิขยสูตรที่ 2.
จบ มูลปัณณาสก์

รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์นี้ คือ


1. นกุลปิตุวรรค 2. อนิจจวรรค 3. ภารวรรค 4. นตุมหากวรรค
5. อัตตทีปวรรค.